• "อยู่อย่างปลอดภัย
    ...ฉับไวในบริการ"

    เพราะเราสำนึกอยู่เสมอว่า การบริการที่ดี
    ผู้ใช้บริการประทับใจ และไว้วางใจ คือหน้าที่ของเรา

    บริษัทรักษาความปลอดภัย แอล.เอ็น.ซีเคียวริตี้ เซอร์วิส จำกัด
    Tel. 02-9234889, 02-9234699
    Mobile. 089-1470314, 083-6189001,
    083-2447004, 086-5220005
    Fax. 02-9234699, 02-6173863
    บริษัทรักษาความปลอดภัย แอล.เอ็น.ซีเคียวริตี้ เซอร์วิส จำกัด
    37/11-12 ม.6 ถ.ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี
    ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง
    จ.นนทบุรี 11110
    Tel. 02-9234889, 02-9234699
    Fax. 02-9234699, 02-6173863
    Mobile. 089-1470314, 083-6189001,083-2447004, 086-5220005
    Read More
  • "อยู่อย่างปลอดภัย
    ...ฉับไวในบริการ"

    เพราะเราสำนึกอยู่เสมอว่า การบริการที่ดี
    ผู้ใช้บริการประทับใจ และไว้วางใจ คือหน้าที่ของเรา

    Tel. 02-9234889, 02-9234699
    Mobile. 089-1470314, 083-6189001,
    083-2447004, 086-5220005
    Fax. 02-9234699, 02-6173863
    บริษัทรักษาความปลอดภัย แอล.เอ็น.ซีเคียวริตี้ เซอร์วิส จำกัด
    37/11-12 ม.6 ถ.ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี
    ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง
    จ.นนทบุรี 11110
    Tel. 02-9234889, 02-9234699
    Fax. 02-9234699, 02-6173863
    Mobile. 089-1470314, 083-6189001,083-2447004, 086-5220005
    Read More
  • "อยู่อย่างปลอดภัย
    ...ฉับไวในบริการ"

    เพราะเราสำนึกอยู่เสมอว่า การบริการที่ดี
    ผู้ใช้บริการประทับใจ และไว้วางใจ คือหน้าที่ของเรา

    บริษัทรักษาความปลอดภัย แอล.เอ็น.ซีเคียวริตี้ เซอร์วิส จำกัด
    Tel. 02-9234889, 02-9234699
    Mobile. 089-1470314, 083-6189001,
    083-2447004, 086-5220005
    Fax. 02-9234699, 02-6173863
    บริษัทรักษาความปลอดภัย แอล.เอ็น.ซีเคียวริตี้ เซอร์วิส จำกัด
    37/11-12 ม.6 ถ.ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี
    ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง
    จ.นนทบุรี 11110
    Tel. 02-9234889, 02-9234699
    Fax. 02-9234699, 02-6173863
    Mobile. 089-1470314, 083-6189001,083-2447004, 086-5220005
    Read More
  • "อยู่อย่างปลอดภัย
    ...ฉับไวในบริการ"

    เพราะเราสำนึกอยู่เสมอว่า การบริการที่ดี
    ผู้ใช้บริการประทับใจ และไว้วางใจ คือหน้าที่ของเรา

    บริษัทรักษาความปลอดภัย แอล.เอ็น.ซีเคียวริตี้ เซอร์วิส จำกัด
    Tel. 02-9234889, 02-9234699
    Mobile. 089-1470314, 083-6189001,
    083-2447004, 086-5220005
    Fax. 02-9234699, 02-6173863
    บริษัทรักษาความปลอดภัย แอล.เอ็น.ซีเคียวริตี้ เซอร์วิส จำกัด
    37/11-12 ม.6 ถ.ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี
    ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง
    จ.นนทบุรี 11110
    Tel. 02-9234889, 02-9234699
    Fax. 02-9234699, 02-6173863
    Mobile. 089-1470314, 083-6189001,083-2447004, 086-5220005
    Read More
  • "อยู่อย่างปลอดภัย
    ...ฉับไวในบริการ"

    เพราะเราสำนึกอยู่เสมอว่า การบริการที่ดี
    ผู้ใช้บริการประทับใจ และไว้วางใจ คือหน้าที่ของเรา

    บริษัทรักษาความปลอดภัย แอล.เอ็น.ซีเคียวริตี้ เซอร์วิส จำกัด
    Tel. 02-9234889, 02-9234699
    Mobile. 089-1470314, 083-6189001,
    083-2447004, 086-5220005
    Fax. 02-9234699, 02-6173863
    บริษัทรักษาความปลอดภัย แอล.เอ็น.ซีเคียวริตี้ เซอร์วิส จำกัด
    37/11-12 ม.6 ถ.ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี
    ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง
    จ.นนทบุรี 11110
    Tel. 02-9234889, 02-9234699
    Fax. 02-9234699, 02-6173863
    Mobile. 089-1470314, 083-6189001,083-2447004, 086-5220005
    Read More
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5

หน้าที่และความรับผิดชอบ

ก. หน้าที่โดยทั่วไป

เจ้า หน้าที่รักษาความปลอดภัยมีหน้าที่ปกป้องดูแลชีวิต และทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างไม่ให้ได้รับความสูญหาย เสียหาย รวมทั้งการป้องกันอัคคีภัย ผู้บุกรุกเข้าไปในเขตหวงห้าม ป้องกันการโจรกรรม และอาชญากรรม การสูญเสียอื่นๆ ตลอดจนความเสียหายต่างๆ ในอันที่จะทำให้ผู้ว่าจ้างต้องสูญเสียผลประโยชน์ไป

 

ข. ความรับผิดชอบในหน้าที่

1. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของ บริษัทฯ และเชื่อฟังคำสั่งโดยชอบของผู้จัดการโดยเคร่งครัด

2. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในจุดหรือบริเวณที่กำหนด

3. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะละทิ้งหน้าที่ไปก่อนที่จะมีผู้เข้ารับเวรต่อ เนื่องไม่ได้ ต้องรอจนกว่าจะมีผู้ที่มาเข้ารับเวรก่อนจึงจะออกไปจากสถานที่ไม่ได้ (เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาระดับหัวหน้าพนักงานรักษาความ ปลอดภัยขึ้นไป)

4. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องมาถึงจุดปฏิบัติงานก่อนเวลาทำงาน (อย่างน้อย 15 นาที) เพื่อรับส่งมอบงาน และประสานงานระหว่างพนักงานด้วยกันในผลัดเก่า และเมื่อเสร็จภาระหน้าที่แล้ว ให้ออกนอกสถานที่โดยทันที ไม่อนุญาตให้อยู่ในบริเวณสถานที่ทำงาน

5. การตัดสินใจกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่ บริษัทฯ มิได้กำหนดให้ หากเกิดความเสียหาย หรือมีผู้เรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายนั้น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบเอง

6. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตื่นตัว รวดเร็ว และจะต้องพร้อมที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ในทุกรูปแบบ

7. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานที่ทาง บริษัทฯ ให้นำติดตัวไปและพร้อมที่จะใช้งานตลอดเวลา รวมทั้งจะต้องคอยดูแลรักษาเครื่องแบบ อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ทาง บริษัทฯ มอบให้ ให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ

8. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องเข้าปฏิบัติหน้าที่ตามตารางเวลาที่ได้กำหนดไว้

9. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะแลกเปลี่ยนเวลาการปฏิบัติหน้าที่ระหว่าง พนักงานด้วยกันเองไม่ได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้จัดการฯ หรือหัวหน้าแผนกปฏิบัติการก่อน จึงจะสามารถปฏิบัติได้

10. ห้ามนำบุคคลภายนอกที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานของตนเข้าไปในสถานที่ทำ งานของผู้ว่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็นญาติ หรือเพื่อน หากพบเห็นถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง

11. ถือเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่จะต้องเรียนรู้ และศึกษางานในหน้าที่ และรายละเอียดในการปฏิบัติอยู่ให้เข้าใจ เพื่อจะสามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้องเรียบร้อย และได้ผลสมตามความมุ่งหมายของ บริษัทฯ

 

ค. คำแนะนำพิเศษสำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

1. การเกิดเหตุอาชญากรรม หรือโจรกรรม
ถ้า เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยพบว่าเกิดเหตุอาชญากรรม หรือโจรกรรมขึ้นภายในบริเวณสถานที่ของผู้ว่าจ้าง จะต้องปฏิบัติ ดังนี้.-
     - แจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบโดยทันที
     - แจ้งให้ทาง บริษัทฯ ทราบ โดยผ่านหัวหน้า หรือผู้จัดการ
     - แจ้งให้ผู้ว่าจ้างทราบ
     - ห้ามบุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณโดยเด็ดขาด
     - ห้ามแตะต้อง หรือเคลื่อนย้ายสิ่งของต่างๆ ในบริเวณที่เกิดเหตุ ก่อนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะมา

2. การประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ใน กรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะขอเข้าไปในบริเวณสถานที่ของผู้ว่าจ้างเพื่อต้อง การตรวจค้น หรือเข้าไปสอบสวนบางสิ่งบางอย่าง ขอให้รายงานให้ผู้ว่าจ้างทราบก่อน เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีสิทธิที่จะเข้าไปทำการตรวจค้น หรือทำอย่างใดอย่างหนึ่งภายในบริเวณสถานที่ของผู้ว่าจ้าง โดยปราศจากหมายค้น
เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้าไปในสถานที่ของผู้ว่าจ้างได้ในกรณีต่อไปนี้
     2.1. มีหมายค้นเป็นหนังสือของทางราชการถูกต้อง
     2.2. ผู้ว่าจ้างเชิญให้มา (หรือได้รับอนุญาตแล้ว)
     2.3. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเชิญให้มาเนื่องจากเกิดเหตุอาชญากรรม หรือโจรกรรมขึ้นมาภายในสถานที่ของผู้ว่าจ้าง

3. การป้องกันอัคคีภัย
เมื่อ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตรวจพบว่ามีเหตุไฟไหม้เกิดขึ้น สิ่งแรกที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องปฏิบัติคือ เข้าระงับต้นเพลิงทันที โดยใช้เครื่องมือหรือถังดับเพลิงเคมีที่มีอยู่ในสถานที่ของผู้ว่าจ้างนั้นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามมากยิ่งขึ้น
สิ่งที่พนักงานรักษาความปลอดภัยจะต้องปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้
     3.1. ระงับต้นเพลิง (ดับไฟ) ทันที
     3.2. ช่วยเหลือชีวิตผู้ประสบภัยเท่าที่สามารถทำได้
     3.3. กดสัญญาณเตือนภัย (ถ้ามี)
     3.4. แจ้งหน่วยดับเพลิง (199) หรือสถานีตำรวจดับเพลิงที่อยู่ใกล้เคียง
     3.5. แจ้งให้หน่วยดับเพลิงทราบถึงสถานที่ที่เกิดเพลิงไหม้โดยละเอียด ระบุจุดเกิดเพลิงในสถานที่นั้น และบริเวณใกล้เคียงที่ไฟสามารถลุกลามได้ง่ายหรือไม่ และควรจะเข้ามาที่จุดเกิดเพลิงโดยเส้นทางไหน
     3.6. ปิดประตูหน้าต่างทุกบาน เพื่อไม่ให้ไฟลุกลามมากยิ่งขึ้น
     3.7. เคลียร์เส้นทางให้หน่วยดับเพลิง (บันทึกเวลาที่หน่วยดับเพลิงมาถึง) นำหน่วยดับเพลิงไปยังจุดเกิดเพลิง
     3.8. แนะนำหน่วยดับเพลิงเกี่ยวกับสถานที่
     3.9. ให้หน่วยดับเพลิงเป็นผู้เข้าผจญเพลิง
     3.10. แจ้งให้ บริษัทฯ ทราบโดยผ่านทางหัวหน้า หรือผู้จัดการ
     3.11. แจ้งให้ผู้ว่าจ้างทราบ

4. การเฝ้าดูแลสถานที่
เจ้า หน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังอยู่ตลอด เวลา ห้ามมิให้บุคคลภายนอกซึ่งมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณสถานที่ของผู้ ว่าจ้าง หรือผ่านเข้าไปในเขตหวงห้าม เว้นเสียแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ว้าจ้างเสียก่อน
หากสงสัยไม่สามารถ ตัดสินใจได้ ให้สอบถามจากทางผู้ว่าจ้างก่อน หรืออาจสอบถามจากหัวหน้างาน หรือพนักงานรักษาความปลอดภัยที่ปฏิบัติงานมาก่อนก็ได้

5. การปฏิบัติเกี่ยวกับการมีผู้บุกรุก
ถ้า เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทราบ หรือสงสัยว่ามีผู้บุกรุกเข้ามาในสถานที่ของผู้ว่าจ้าง จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบโดยเร็ว และอย่าให้ผู้บุกรุกรู้ตัวเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องเฝ้าดูไม่ให้ ผู้บุกรุกคลาดสายตา และควรบันทึกรูปร่างลักษณะต่างๆ ของผู้บุกรุกไว้ด้วย เช่น เพศ ความสูง อายุ สีผิว สีผม ทรงผม ลักษณะใบหน้า หู ตา จมูก ปาก การแต่งกาย ท่าทางการเดิน สำเนียงการพูด หากนำยานพาหนะมาด้วยให้บันทึกชนิดของยานพาหนะ หมายเลขทะเบียน สีรถ หรือตำหนิอื่นๆ ไว้ด้วย
การจับกุมผู้บุกรุกควรจะกระทำเมื่อเจ้าหน้าที่ ตำรวจมาถึง และให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้จับกุมซึ่งจะทำได้ง่าย และปลอดภัยกว่าการที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยดำเนินการจับกุมเอง

6. การตรวจสอบบุคคล หรือยานพาหนะที่จะเข้าในบริเวณสถานที่ของผู้ว่าจ้าง
เจ้า หน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องตรวจสอบบุคคลภายนอกผู้มาเยี่ยม โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยพบเห็นหรือรู้จัก จะต้องไม่อนุญาตให้เข้าไปในบริเวณสถานที่ของผู้ว่าจ้างเป็นอันขาด
การตรวจสอบบุคคล และยานพาหนะ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยควรจะสอบถามหรือปฏิบัติ ดังนี้.-
     6.1. ถามชื่อ ที่อยู่ ธุระ ต้องการพบใคร ใช้เวลานานเท่าใด
     6.2. ขอตรวจดูบัตรประจำตัวประชาชน ใบขับขี่ บัตรข้าราชการ หรือบัตรอื่นๆ ที่สามารถใช้เป็นหลักฐานในการแสดงตัวได้
     6.3. หากมีการกำหนดให้บันทึกหลักฐานในสมุดบันทึกการผ่านเข้า-ออก หรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เห็นว่าควรบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ก็ให้จดบันทึก หรือลงหลักฐานไว้ให้เรียบร้อย
     6.4. หากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสงสัย อาจให้มีการเซ็นชื่อในสมุดบันทึกการผ่านเข้า-ออก พร้อมตรวจสอบลายเซ็นกับหลักฐานแสดงตัวที่นำมาแสดงให้ถูกต้องตรงกันก่อน
     6.5. หลังจากที่ตรวจสอบเสร็จแล้ว จะต้องแจ้งให้ผู้ที่ถูกระบุว่าต้องการเข้าพบทราบเสียก่อน หากอนุญาตให้เข้าพบได้จึงอนุญาตให้เข้าไปได้

7. การตรวจค้น
เจ้า หน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องตรวจค้นทุกคนที่ผ่านเข้า-ออก โดยเฉพาะหากมีการกำหนดเป็นระเบียบ หรือข้อบังคับจะต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด เว้นแต่กรณีผู้ว่าจ้างได้กำหนดให้มีการยกเว้นเท่านั้น
การตรวจค้นบุคคล และยานพาหนะ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องทำโดยละเอียด และจะต้องปฏิบัติด้วยความสุภาพ

8. อันตรายจากน้ำ
ความ เสียหายที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของผู้ว่าจ้างที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ การมีท่อน้ำแตก ท่อน้ำรั่ว หรือก๊อกน้ำเปิดทิ้งไว้ เป็นต้น เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจกระทบต่อการปฏิบัติงาน หรือทำให้เกิดความเสียหายกับผู้ว่าจ้างได้ เมื่อพบเห็นเหตุการณ์เหล่านี้ สิ่งที่ต้องปฏิบัติคือ จะต้องปิดก๊อกน้ำ ปิดวาล์วน้ำ หรือหาวัสดุบางอย่าง เช่น ผ้าหรือผ้ายางไปปิดทับไว้ชั่วคราวแล้วรีบแจ้งทางผู้ว่าจ้างทราบ หรือแจ้งช่าง/แผนกซ่อมบำรุงของผู้ว่าจ้าง เพื่อดำเนินการแก้ไขโดยทันทีที่สามารถจะทำได้ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยควรจะทราบข้อมูล วิธีการเปิด-ปิดวาล์วน้ำ และตำแหน่งที่ตั้งต่างๆ ของกุญแจที่ใช้สำหรับการเปิด-ปิด หรือแก้ไข เพื่อจะปฏิบัติได้รวดเร็วถูกต้องเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ขึ้น

9. อันตรายจากไฟฟ้า

การ ตรวจตราดูแลสถานที่ควรจะได้ตรวจสอบดูความเรียบร้อยของสายไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้ารวมทั้งระบบไฟฟ้าต่างๆ ที่อาจมีการเสื่อมคุณภาพ หรือถูกทำลาย หรือติดตั้งทิ้งไว้อย่างล่อแหลม เมื่อพบจะต้องรีบแจ้งให้ผู้ว่าจ้าง หรือเจ้าหน้าที่ของผู้ว่าจ้างทราบทันที เพื่อรีบดำเนินการแก้ไข เปลี่ยน หรือซ่อมแซมใหม่ให้เรียบร้อย เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จะต้องทราบถึงจุดติดตั้งสวิตซ์ไฟฟ้า ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าต่างๆ และควรมีแผนผังเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าของสถานที่นั้นๆ ไว้สำหรับแก้ไขเมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือไฟฟ้าลัดวงจรขึ้น